วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

เอนไซม์ น้ำหมักชีวภาพ เพื่อการพอเพียง



คำนำ

คำว่า เอนไซม์ เป็นการกำหนดคำหลังจากนักวิทยาศาสตร์พบว่าเป็นโครงสร้างของโปรตีนที่มีสารไวตามิน แร่ธาตุ ออกซิเจน รวมอยู่ตลอด ถึงแม้จะทำหน้าที่ของตัวเองแล้ว สารดังกล่าวยังคงแตกตัวต่อเนื่องแบบไม่รู้จบ และคงสภาวะปฏิกริยาตามความหนาแน่นของอินทรียวัตถุในแต่ละสิ่งแวดล้อม

การสร้างสารดังกล่าวเกิดมาเนิ่นนาน ตั้งแต่สมัยพุทธกาลพบว่า น้ำดองน้ำมูตรเน่าบริสุทธิ์ (หมักนานเกินกว่า 1 ปี) ก็จะยังคุณสมบัติของเอนไซม์มากกว่า 8 ชนิดอยู่ และมีความสามารถทำงานอย่างต่อเนื่อง

ข้าพเจ้าขออนุโมทนาพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ในพระพุทธองค์ ข้าพเจ้าขอน้อมจิตเผยแพร่แด่สาธุชนทั้งหลาย

 เนื้อหา

สำหรับการทำน้ำหมักชีวภาพ หรือ เอนไซม์เพื่อการบริโภคนั้น ถือว่าไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล น้ำสมอดองถือเป็น น้ำอมตะ และยาอายุวัฒนะ แห่งการรักษาชีวิต

ซึ่งหากจะแปลความจากการวิเคราะห์ด้วยหลักวิทยาศาสตร์ น้ำหมักชีวภาพ หรือ เอนไซม์ ก็คือ น้ำมูตรเน่าเถ้าดองที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก สารอินทรีย์ที่ได้จากการหมักนั้นได้ทำให้เกิดสิ่งมหัศจรรย์แก่มวลมนุษยชาติมานานนับพันปี

เกือบยี่สิบกว่าปีแห่งการค้นคว้า คณะสงฆ์เครือข่ายภาคอีสาน และชมรมบ้านสุขภาพ ได้ร่วมศึกษาและค้นคว้าพืชผักผลไม้ สมุนไพรต่าง ๆ นานาชนิดที่มีอยู่ในประเทศไทย

เราพบว่าการนำผักผลไม้มาหมักตาม ทฤษฎีการแตกตัวของอนุมูลสารอาหาร เพื่อให้เกิดการซึมของน้ำหมัก ซึ่งจะได้สารอาหารซึ่งอยู่ในรูปของสารละลาย ครบ 5 หมู่ ตามความต้องการของร่างกายในสภาวะฟื้นฟูและดูแลจากขบวนการหมัก

สารอาหารที่ออกมานั้นอยู่ในรูปของ กรดอะมิโนจากโปรตีน พลังงานจากแป้ง ไวตามินและแร่ธาตุจากผักผลไม้

ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็น สารอาหารที่ร่างกายต้องการในระดับต่าง ๆ กัน ในกรณี สมุนไพร ก็เช่นกัน นอกจากจะได้สารอาหารต่าง ๆ แล้วยังทำให้สมุนไพรออกฤทธิ์ในการรักษามากขึ้น แต่ไม่มีผลข้างเคียงจากสเตียรอยด์จากน้ำยาง แต่จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาที่หมักนานมากกว่า 5 ปี จึงจะมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งกรดอะมิโน ไวตามิน เกลือแร่ และออกซิเจนจะออกฤทธิ์อยู่ในรูปสารละลาย และไม่มีผลข้างเคียง

สารละลายที่ได้รับจากขบวนการหมักดังกล่าวจะทำหน้าที่เป็นตัวลดการเผาผลาญเกินในร่างกาย ซึ่งก่อให้เกิด เซลล์ผิดปกติต่าง ๆ เช่น เซลล์เนื้องอก เซลล์มะเร็ง เซลล์ที่เกิดการรวมตัวแบบแยกส่วน (MCTD : MIXED CONNECTIVE TISSUE DESEASE) หรือ อาการภูมิแพ้ หรือแพ้ภูมิตนเองให้ลดลง และปรับฮอร์โมนให้ปรกติ

 การผลิตน้ำหมักชีวภาพเป็นเทคโนโลยีที่ผมผสานระหว่าง ภูมิปัญญาพื้นบ้านและความรู้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์

ซึ่งการที่ จะได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีคุณประโยชน์อย่างไรนั้น จำเป็นที่จะต้องมองถึงองค์ประกอบสำคัญในเรื่องวัตถุดิบ รวมไปถึงสัดส่วน และระยะเวลาที่ใช้ในการผลิตเอนไซม์

สาระสำคัญที่เกิดขึ้นนี้ หากปฏิบัติถูกวิธีก็จะให้สารที่มีคุณประโยชน์ต่อการบริโภค กล่าวคือ เมื่อกินเข้าไปแล้วเป็นผลดีต่อร่างกาย เช่น จุลินทรีย์แลคติก กรดอะมิโน กรดแลคติก และสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นต้น

ทำไมถึงเรียก เอนไซม์

เอนไซม์ คือ โปรตีนที่คัดหลั่งมาจากเซลล์ที่มีฤทธิ์กระตุ้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในสารอื่น ๆ โดยตัวมันเองไม่เปลี่ยนแปลง

ชื่อ เอนไซม์ ถูกเสนอโดยนักสรีรวิทยาชาวเยอรมันในปี 1867 มาจากกลุ่มคำศัพท์ “Enzyme” เป็นคำเรียกสารที่มีโปรตีน และไวตามินอยู่ร่วมกัน และทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อย

กระนั้นเอนไซม์ยังจำแนกได้อีก 700 กว่าชนิด
การหมักน้ำเอนไซม์ มีกระบวนการทางเคมีทางทฤษฎีของการเปลี่ยนแป้งและน้ำตาลจากผลไม้เป็นกรดน้ำส้ม
สูตรทางเคมีคือ CH3COOH เมื่อสารละลายน้ำแล้ว น้ำส้มสายชูก็จะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปของโอโซน (O3) ซึ่งไวต่อการทำลายเซลล์ตายและให้กำลังกับเซลล์ที่เกิดขึ้นใหม่

CH3COH + O + O2 เปลี่ยนเป็น O3 + 2H2O + 2C (Ash)
กลุ่มทางเคมีในรูปของเอนไซม์ ทีมีชื่อว่า อะเซททิล โคเอ (Acetyle Co-A) ทำหน้าที่ควบคุมเอนไซม์ที่ช่วยย่อยคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ทำให้สารอินทรีย์ถูกย่อยเปลี่ยนรูปเป็น กรดน้ำส้มสายชู และเพิ่มโอโซนธรรมชาติในชั้นบรรยากาศมากขึ้น

ดังนั้น เอนไซม์ คือ สารที่เกิดจากขบวนการแตกตัวสารอาหารด้วยขบวนการ IONIC DISCHARGE

ซึ่งจะให้ สารอาหารที่อยู่ในรูปของ อิออนบวกและลบ ทำให้เกิดการสลายอนุมูลอิสระในร่างกาย ให้เกิดเป็นอนุมูลธาตุ ทำให้เซลล์ลดการตายลงและมีชีวิตต่อไปได้

เมื่อร่างกายได้รับเอนไซม์จากขบวนการดังกล่าวจะช่วยทำให้เซลล์และขบวนการทางเคมีต่าง ๆ ในร่างกายเกิดสภาวะสมดุล จนเกิดการซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้อย่างรวดเร็ว

ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญก็คือ กรดอะมิโน สารอาหารในกลุ่ม โปรตีน ไวตามิน และเกลือแร่ คือ ไวตามินบีรวม บี 1 บี 2 บี 12 แร่ธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต และชะล้างส่วนที่ตายแล้วให้ออกจากร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ของเอนไซม์จากการวิจัยดังนี้

1. เอนไซม์ช่วยเปลี่ยนอาหารคาร์โบไฮเดรต น้ำตาล และเส้นใยอาหารให้เป็นกรดอินทรีย์ เช่นกรดแลคติก กรดอะซิติก และกรด บิวทีริก ซึ่งมีความเป็นกรดอ่อน ๆ ทำให้เอนไซม์มีรสเปรี้ยว และช่วยทำให้การขับถ่ายเป็นไปได้อย่างลื่นสะดวก กรดอินทรีย์บิวทีริกเสริมการสร้างดีเอ็นเอ และเพิ่มจำนวนเซลล์บุผิวในลำไส้ใหญ่ให้มีมากแข็งแรงมีอายุยืนกว่าเดิม ทำหน้าที่ต้านเชื้อโรคได้ดี ต่อต้านการเกิดเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ดี

2. เอนไซม์สร้างไวตามิน B12 ไวตามิน K และไวตามิน B หลายชนิด บำรุงเม็ดเลือด เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์ประสาท และเซลล์ทั่วไป

3. ช่วยสร้างเอนไซม์แลคเตส เพื่อย่อยน้ำตาลในนม ทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น

4. สร้างสารต่อต้านเชื้อโรค สารอินทรีย์นี้เรียกว่า แบคทีริโอซิน (bacteriocins) มีหลายชนิด ได้แก่ acidolin, acidophilin, bulgarican, lactocillin และ niacin ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกายเช่น เชื้อที่ทำให้เจ็บคอ เชื้อที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง (Helicobacter pylori) เชื้อที่เกิดตามผิวหนังที่ทำให้เป็นแผลพุพองเรื้อรังและดื้อต่อยาปฏิชีวนะ (methicillin resistant Staphy lococcus aruecus (MRSA) เชื้อที่ทำให้ท้องร่วง (Escherichia coil, Salmonella , Listeria, Shigella และเชื้อที่ทำให้เกิดเหม็นเน่า (Clostridium perfringens)

5. ช่วยละระดับโคเลสเตอรอลในเลือด

6. ช่วยในการทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนมีการนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle) ซึ่งจะช่วยยืดระยะเวลาการหมดประจำเดือน และบรรเทาการเกิดโรคกระดูกพรุนด้วย เนื่องจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนจะทำให้การดูดซึมแคลเซียมบกพร่อง)

7. ช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากการฉายรังสี และเคมีบำบัดหลังการผ่าตัดมะเร็ง ลดอาการแพ้ คลื่นไส้ ผมร่วง ทำให้รับประทานอาหารได้ดีขึ้น และพบว่าทำให้ปริมาณฮีโมโกลบินสูงขึ้นด้วย

8. ช่วยลดการเกิดสารก่อมะเร็งบางชนิด เช่น ไนโตรซามีน

9. ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ในสัตว์ทดลอง ทั้งในระดับ ระยะเริ่มต้น (initlation) และระยะส่งเสริม (promotion) ของโรคมะเร็ง และในทางระบาดวิทยา พบว่าในคนมีความสัมพันธ์กับการลดอัตราการเสี่ยงของมะเร็งลำไส้

ขั้นตอนการผลิตเอนไซม์เพื่อการบริโภค
1. จัดเตรียมอุปกรณ์ ซึ่งประกอบด้วย






ผลไม้หรือสมุนไพร : น้ำผึ้ง : น้ำสะอาด ในอัตราส่วน 3:1:10 
2. นำผลไม้มาทำความสะอาด ถ้าผลไม้ใหญ่ให้แบ่งเป็นชิ้นเล็ก แล้วใส่ในภาชนะตามอัตราส่วนโดยเหลือพื้นที่ 1/5 ของภาชนะ เพื่อให้อากาศภายในมีการหมุนเวียน
3. ปิดฝาและทำประวัติติดข้างภาชนะหมัก ประกอบด้วย
* ชนิดของผลไม้ *วันเดือนปีที่ผลิต
4. เมื่อได้ระยะเวลา 3 เดือนแล้ว เกิดน้ำใส (Ionic plasma) ลอยตัว ให้ดูดออกด้วยสายยางแล้วนำมาขยายต่ออีก ทุก ๆ 3 เดือน เป็นเวลา 3 ปี ในอัตราส่วน น้ำใส:น้ำผึ้ง:น้ำ 1:1:10
5. ตัวกากที่ก้นภาชนะหมักต่อไปในอัตราส่วนเดิม คือ
กากผลไม้ที่เหลือ
: น้ำผึ้ง 1 ส่วน : น้ำสะอาด 10 ส่วน
6. เมื่อครบ 3 ครั้งแล้ว กากที่เป็นผงตะกอน ให้หมักในอัตราส่วน
กาก 1 ช้อนโต๊ะ : ผลไม้ 10 กก. : น้ำสะอาด 10 ส่วน
หมักจนได้น้ำใส แล้วเอามาต่ออีกเหมือนตอนต้นไปได้เรื่อย

  ประเภทของผลไม้และสารอาหารที่ได้รับ

หมักผลไม้รสหวาน ได้วิตามิน เอ ดี อี

หมักผลไม้รสเปรี้ยว ได้วิตามิน ซี เค

หมักจากข้าว ได้วิตามิน บี ซี อี

การสังเกต

วิตามินบี จะมีกลิ่นเหม็นอมเปรี้ยว

วตามินซี จะมีกลิ่นเปรี้ยว สีส้ม

วิตามินเค จะมีสีแดง

วิตามินดี จะมีกลิ่นหอม

วิตามินอี จะมีสีใส

การนำเอนไซม์มาใช้เพื่อการบริโภค

การนำเอนไซม์มาใช้เพื่อการบริโภคนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องคำนึงถึง

1. ค่า PH ต่ำกว่า 4

2. ประจุไฟฟ้า 1,000 2,000 ไมโครซีเมนต์

3. ปริมาณแอลกอฮอล์ไม่เกิน 1 และไม่มีเมทธิลแอลกอฮอล์ ซึ่งแก้ได้โดยการผสมน้ำเพิ่ม 10 เท่า จะไม่มีแอลกอฮอล์
การผสมเอนไซม์พร้อมดื่ม

1. เอนไซม์ 1 ปีขึ้นไป 1 ส่วน ต่อน้ำผึ้ง 1 ส่วน และน้ำ 10 ส่วน นำมาผสมในภาชนะ (ถ้าใช้น้ำผึ้งที่มีความชื้น 20 % สามารถดื่มได้ทันที แต่น้ำผึ้งธรรมดาต้องหมักไว้ 3 เดือน) จึงนำมาดื่มได้

2. ถ้าไม่ดื่มโดยทิ้งไว้จนครบ 3 เดือน สามารถนำมาขยายต่อในอัตราส่วนเดิมได้อีก คือ น้ำเอนไซม์ 1 ส่วน + น้ำผึ้ง 1 ส่วน + น้ำ 10 ส่วน (เอนไซม์ที่นำมาขยายควรมีอายุการหมักตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เมื่อนำมาขยายแล้ว ประสิทธิภาพจะไม่ลดลง แต่จะได้ปริมาณมากขึ้น และประหยัด)

 น้ำเอนไซม์ที่ผ่านขบวนการหมัก
สามารถนำมาประยุกต์ทำอะไรได้บ้าง

 อายุ 2 ปี นำมาผสมกับน้ำด่าง สามารถนำมาผลิตทำแชมพูสระผม น้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างจาน สบู่น้ำ เป็นต้น

อายุ 4 ปี ใช้หัวเชื้อ 1 ส่วน + น้ำผึ้ง 1 ส่วน ผลไม้ 3 ส่วน น้ำ 10 ส่วน หมักต่อไป 15 วัน สามารถนำมาทำน้ำยาบ้วนปาก ล้างแผลสด แผลอักเสบ พุพอง งูสวัด และล้างสารพิษในพืชผักผลไม้

โดยนำเอนไซม์จำนวน 2 ลิตร หมักกับข้าวสุก 10 กก. และน้ำผึ้ง 1 กก. ใส่น้ำท่วมข้าว หมักภายใน 15 วัน จะได้น้ำเอนไซม์ ส่วนข้าวสุกที่หมักแล้ว นำมาใส่น้ำท่วมข้าว หมักอีก 15 วัน ได้น้ำ Enzyme ทำได้ 3 ครั้ง จนข้าวเป็นผง

อายุ 6 ปี ขยายหัวเชื้อ 1 ส่วน น้ำผึ้ง 1 ส่วน น้ำ 10 ส่วน ดื่มได้เลย เมื่อเกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ มีแก๊ส ท้องเสีย 20-30 ซีซี ใช้ทำผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม ผิวพรรณ ใบหน้า ตา จมูก ช่องปาก คอ ดับกลิ่นตัวในร่มผ้า เท้า ให้สะอาด และสดชื่น

อายุ 6-10 ปี ขึ้นไป ใช้ดองสมุนไพรเป็นเวลา 1 เดือน จะได้ประสิทธิภาพตามคุณสมบัติของสมุนไพรแต่ละตัวเพิ่มขึ้น ควรรับประทานวันละ 1 ครั้ง (3-10 ซีซี) ก่อนหรือหลังอาหาร 1 ชั่วโมงครึ่ง

 ข้อมูลจาก  ดร. รสสุคนธ์ พุ่มพันธุ์วงศ์

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น