วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

เบอร์รี่ไซเดอร์


เบอร์รี่และไซเดอร์ วีนีการ์


          Berry หรือ เบอร์รี่ จัดเป็นสุดยอดผลไม้ นอกจากรสชาติที่มีการผสมผสานระหว่างความเปรี้ยวและความหวานอย่างเป็นเอกลักษณ์ ยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการสูง อาทิเช่น วิตามิน และสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง โดยมีการศึกษาถึงผลดีในการบริโภคเบอร์รี่อย่างแพร่หลายและเป็นที่ยอมรับว่า การบริโภคเบอร์รี่ส่งผลต่อความงามและสุขภาพ

        จากการวิจัยพบว่า สารต้านอนุมูลอิสระของเบอร์รี่แต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน โดยจากการทดสอบสารต้านอนุมูลอิสระในเบอร์รี่จะพบสารจำพวก Phenolics จาก Acai, Strawberry, Black berry, Raspberry, Goji berry, Mulberry, Blueberry, Cranberry, Red grape และ Blackcurrent เป็นต้น (Vattem et al., 2005; Zadernowski et al., 2005; Gross,2006; Schauss et al., 2006) สำหรับกลไกการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระเริ่มต้นจากปฏิกิริยาการหายใจระดับเซลล์เมื่อเกิดการคายพลังงานจะพบว่ามีอนุมูลอิสระของออกซิเจนเกิดขึ้น สารนี้จะไปทำลายโมเลกุลในระดับเซลล์ที่มันไปจับ ถ้าร่างกายมีปริมาณอนุมูลอิสระมากจะส่งผลต่อการเสื่อมสภาพของกลุ่มเซลล์และเมื่อกลไกต่างๆนี้ เกิดบริเวณชั้นผิวหนังอันจะส่งผลกระทบและเป็นสาเหตุสำคัญให้เกิดริ้วรอย (Ferrari, 2004) ดังนั้นการบริโภคอาหารที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของเซลล์ ซึ่งจะส่งผลทำให้มีผิวพรรณที่อ่อนเยาว์ ไม่ร่วงโรยก่อนวัย นอกจากนี้อนุมูลอิสระยังเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของความเสี่ยงในการก่อให้เกิดโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ (Valko et al., 2007) จากงานวิจัยของ Reed (2002) ชี้ชัดว่าการบริโภค Cranberry และ Blackcurrent จะช่วยลดปริมาณ ไขมันไม่ดี (LDL) ในเลือด เนื่องจากสารฟลาโวนอยด์ Flavonoids ที่เป็นองค์ประกอบภายในผลไม้ทั้ง 2 ชนิดนี้จะช่วยลดการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของ LDL ซึ่งกระตุ้นการอักเสบในหลอดเลือดจากนั้นจึงนำไปสู่โรคหลอดเลือดอุดตันในที่สุด นอกจากนี้มีการนำสารสกัดในองุ่นมาทำการทดลองในหนูทดลอง สารสกัดดังกล่าวได้แก่ Resveratrol เป็นกลุ่มสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งพบมากในองุ่นสีแดงสามารถยับยั้งการทำงานของยีน (Gene) ที่เสื่อมประสิทธิภาพของเซลล์ ไม่ให้เกิดสารที่ส่งผลให้เกิดความเสื่อมของเซลล์กระดูก กล้ามเนื้อ และกล้ามเนื้อหัวใจ (Berger et al., 2008)

             นอกจากประโยชน์ด้านความงามแล้วสารต้านอนุมูลอิสระยังให้คุณประโยชน์ทางด้านสุขภาพ อาทิ เช่น Goji berry จัดเป็นพืชตระกูลเบอร์รี่ที่อุดมไปด้วยวิตามิน โดยเฉพาะวิตามินเอ ที่มีสารตั้งต้นของ Carotenoids .ในปริมาณสูงโดยสารกลุ่มนี้มีสารช่วยบำรุงส่วนช่วยบำรุงสายตา และปรับการทำงานของเรตินาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (Gross, 2006)

         ยังมีงานทดลองอีกมากเกี่ยวกับเบอร์รี่ ได้มีการศึกษาผลของสารสกัดจาก Elderberry ต่อการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A และ B โดยการกระตุ้นประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกัน ในการยับยั้งไม่ให้เชื้อเกาะกับผนังเซลล์เพื่อทำการเพิ่มจำนวนภายในเซลล์ (Heuer et al., 2008)

         ดังนั้นคุณประโยชน์ของเบอร์รี่ยังมีอีกมากและมีการศึกษากันมาอย่างยาวนาน ซึ่งในปัจจุบันดังจะเห็นได้ว่ามีการนำเบอร์รี่มาบริโภคกันอย่างหลากหลายในรูปแบบต่างๆ อาทิเช่น บริโภคผลสด นำมาเป็นส่วนผสมในอาหาร และสารผสมในยารักษาโรคต่างๆ อย่างแพร่หลาย จากการวิจัยพบว่า เบอร์รี่เป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยสารอาหาร เช่น วิตามิน ที่มีส่วนสำคัญต่อสุขภาพ โดยเฉพาะวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตาส่งเสริมการมองเห็น และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ธรรมชาติซึ่งช่วยมีส่วนในการชะลอความเสื่อมของเซลล์ที่ร่วงโรยไปตามวัย ส่งผลให้ผิวพรรณแลดูอ่อนวัย นอกจากนี้ยังพบว่าการบริโภคเบอร์รี่อาจส่งผลทำให้มีภูมิคุ้มกันในร่างกายดีขึ้นอีกด้วย ดังนั้น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ จึงจัดเป็นอาหารที่ช่วยทำให้คงความอ่อนเยาว์และยืดอายุของเราให้ยาวนานขึ้น

 อ้างอิง :

1. Vattem D.A., Ghaedian R. and Shetty K. (2005) Enhancing health benefits of berries through phenolic antioxidant enrichment: focus on cranberry. Asia Pac J Clin Nutr. 14(2):120-130.

2. Zadernowski R., Naczk M. and Nesterowicz J. (2005) Phenolic acid profiles in some small berries. J Agric Food Chem. 53:2118-2124.

3. Gross P.M. (2006) Goji’s Dozen friend of eye health. NPI Center. [Online available]: http://newhope360.com/conditions/gojis-dozen-friends-eye-health (1 December 2011).

4. Schauss A.G., Wu X., Prior R.L., Ou B., Huang D., Owens J., Agarwal A., Jensen G.S., Hart A.N. and Shanrom E.(2006) Antioxidant capacity and other bioactivities of the freeze-dried Amazonian palm berry, Euterpe oleraceae Mart.(Acai). J Agric Food Chem. 54(2):8604-8610.

5. Heuer M., Clement K., Shan C. and Thomas M. (2008) Composition for improving immune system health. Patent Application Publication.

6. Berger J.L., Kayo T., Vann J.M., Arias E.B. Wang J., Hacker T.A.,Wang Y., Raederstorff D., Allison D.B., Morrow J.D., Leeuwenburg C., Saupe K.W., Cartee G.D., Weindruch R. and Prolla T.A. (2008) A low dose of dietary resveratrol partially mimics caloric restriction and retards aging parameters in mice. Plos one. 3(6):1-10.

7. Valko M., Leibfritz D., Moncol J., Cronin M.T.D. and Mazur M. (2007) Free radicals and antioxidants in normal physiological functions and human disease. Int J Biochem Cell Biol. 39(1):44-84.

8. Ferrari C.K.B. (2004) Functional foods, herbs and nutraceticals:towards biochemical mechanisms of healthy aging. Biogerontology. 5:275-289.

9. Reed J. (2002) Cranberry flavonoids, atherosclerosis and cardiovascular health. Crit Rev Food Sci Nutri. 42:301-316.

ประโยชน์ของไซเดอร์ วีนีการ์

 ไซเดอร์ วีนีการ์ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ไซเดอร์ คือ น้ำส้มสายชูหมักจากน้ำผลไม้ด้วยวิธีการทางธรรมชาติ ซึ่งทำให้เกิดความแตกต่างจากน้ำส้มสายชูทั่วไป เนื่องจากน้ำส้มสายชูทั่วไปมักจะผลิตมาจากน้ำตาล หรือผลพลอยได้จากการผลิตน้ำตาล หลังจากทำการหมักแล้ว จึงนำมาทำการกลั่นให้ได้กรดน้ำส้มที่บริสุทธิ์ ในขณะที่การหมักด้วยน้ำผลไม้ด้วยวิธีธรรมชาติจะทำให้ได้กรดอินทรีย์ที่มีความหลากหลาย อีกทั้งยังได้แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในน้ำผลไม้ รวมถึงใยอาหารที่ละลายน้ำได้ซึ่งละลายอยู่ในไซเดอร์

 จากการศึกษาของ Ebihara และ Nakajima (1988) พบว่าไซเดอร์มีความสามารถควบคุมระดับกลูโคสในเลือดให้คงที่ ทำให้ไม่เกิดความอยากอาหารเนื่องจากการลดลงของระดับกลูโคสในเลือดจะทำให้เกิดความต้องการอาหารและรับประทานอาหารมากขึ้นกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดความอ้วนได้ (Melanson et al., 1999) นอกจากนี้ยังช่วยลดความเมื่อยล้าของกล้ามเนี้อหลังจากการออกกำลังกาย ช่วยลดให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารดีขึ้น (Mindell, 2002) แร่ธาตุที่มีอยู่มากในน้ำผลไม้ ซึ่งนำมาผลิตมีผลในการรักษาปริมาณมวลกระดูกทำให้มีผลต้านโรคกระดูกพรุน (Mindell and Johns, 1999)
 
อ้างอิง :

1. Ebihara K, Nakajima A. (1988) Effect of acetic acid and vinegar on blood glucose and insulin responses to orally administered sucrose and starch. Agric Biol Chem. 52:1311–1312.
2. Melanson K.J., Westerp-Plantenga M.S.,Saris W.H.M.,Smith F. and Campfield L.A. (1999) Blood glucose patterns and appetite in time blinded humans :Carbohydrate versus fat. Am J Physiol Regul Integr Corp Physiol.277:R337-R345.
3. Mindell E. and Johns L.M. (1999) Amazing apple cider vinegar. Keats Publishing group Inc.. Illinois, USA.
4. Mindell E. (2002) Dr. Earl Mindell’s Amazing apple cider vinegar. Mc Graw Hill Companies. New York, USA

ข้อมูลจาก website Gifferine

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น